ใบอนุญาตโรงงาน (ร.ง.4)

ผู้ประกอบการ SME หลายคนที่ดำเนินธุรกิจมาได้ระยะหนึ่ง คงมีความคิดอยากตั้งโรงงานผลิตสินค้าเป็นของตัวเอง เพื่อขยับขยายธุรกิจ และหาช่องทางในการสร้างกำไรเพิ่ม ทั้งยังเป็นการลดต้นทุนในการจ้างโรงงานผลิตสินค้า (Outsource) อีกด้วย แต่การจะตั้งโรงงานได้นั้น จำเป็นต้องขออนุญาต เราจึงรวบรวมขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ ร.ง. 4 มาฝากคนที่อยากเปิดโรงงาน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี? 

ทำไมต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน

เหตุผลที่จำเป็นต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานคือ การทำตามกฏหมาย ซึ่งกฏหมายระบุเอาไว้ว่า โรงงานที่มีเครื่องจักรขนาด 50 แรงม้า หรือโรงงานที่มีคนงานมากกว่า 50 คนขึ้นไป จะต้องดำเนินการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อควบคุมให้การดำเนินกิจกรรมในโรงงานนั้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมรอบข้าง และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

แต่ถึงอย่างนั้น มีโรงงานบางประเภทที่ได้รับการยกเว้น ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตประกิบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) เราไปดูกันว่ามีโรงงานกี่ประเภทและประเภทไหนบ้างที่ต้องขอใบอนุญาต

ประเภทของโรงงาน จำพวกที่ 1

โรงงานที่มีขนาดเครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า มีการประกอบธุรกิจ หรือดำนเนิกิจกรรมภายในโรงงานดังนี้ โรงงานฟักไข่โดยใช้ตู้อบ โรงงานทำน้ำตาลจากมะพร้าว โรงงานซ่อมรองเท้าและเครื่องหนัง โรงงานล้างรถยนต์ โรงงานซ่อมนาฬิกาและเครื่องประดับ โรงงานทำเส้นขนมจีน ฯลฯ ซึ่งถือเป็นโรงงานที่ไม่ก่อปัญหาด้านมลพิษ จึงได้รับการละเว้น ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)


ประเภทของโรงงานจำพวกที่ 2

โรงงานผลิตน้ำดื่ม โรงงานผลิตน้ำแข็ง โรงงานทำไอศกรีม โรงงานทำน้ำอัดลม โรงงานแกะสลักไม้ ฯลฯ ซึ่งโรงงานทั้งหมดต้องมีขนาดเครื่องจักรไม่เกิน 75 แรงม้า หรือมีคนงานไม่เกิน 75 คน โรงงานจำพวกที่ 2 นี้ ได้รับการละเว้น ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) แต่ต้องแจ้งให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อนมีการก่อตั้งโรงงานหรือปฏิบัติงาน


เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการแจ้งเจ้าหน้าที่พนักงาน เพื่อขอใบรับแจ้งประกอบกิจการ

ประเภทของโรงงานจำพวกที่ 3

เป็นโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีขนาดเครื่องจักรมากกว่า 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน ซึ่งโรงงานจำพวกที่ 3 นี้เอง ที่จำเป็นต้อง ขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ก่อนการจัดตั้ง เพราะถือเป็นโรงงานที่อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษ หรืออาจสร้างความเดือดร้อน และต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด